Archive | มกราคม, 2012

การอนุรักษ์เต่า

3 ม.ค.


การอนุรักษ์เต่านั้น ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีบุคคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมและเข้าใจอย่างถ้วนถี่ในเรื่องของชีววิทยาและนิเวศวิทยา ของเต่าทะเล ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลหลายโครงการที่ดำเนินการด้วยความตั้งใจดี แต่ยังขาดความรู้ที่ถูกต้อง จนทำให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี จากการที่ปริมาณของเต่าทะเลได้ลดน้อยลงจนถึงจุดวิกฤต โดยเฉพาะเต่ามะเฟืองซึ่งไม่สามารถที่จะนำมาเลี้ยงได้ มีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย เนื่องจากหาดที่ขึ้นมาว่างไข่ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ บริเวณที่พบมากในอดีตคือที่หาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต และหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา แต่ปัจจุบันนี้ปรากฏว่า หาดไม้ขาวได้มีการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ เช่น ท่าอากาศยาน การเพาะเลี้ยง ลูกกุ้ง เป็นต้น จนสภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติไม่หลงเหลือ ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้อง และองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของเต่าทะเล ไม่เพียงแต่บริเวณหาดทรายที่เต่าทะเลตัวเมียขึ้นมาวางไข่เท่านั้น ที่ควรจะได้รับการพิทักษ์ปกป้อง แต่จะต้องดูแล รักษา ระบบนิเวศทั้งระบบ ทั้งนี้เพราะเต่าทะเลใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในท้องทะเลเปิดนอกชายฝั่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งมลพิษและอันตรายอื่น ๆ อันเป็นสาเหตุให้เต่าทะเลลดจำนวนลงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์



เต่ากับมนุษย์

3 ม.ค.

โดยปกติแล้ว มนุษย์จะไม่ใช้เนื้อเต่าหรือไข่เต่าเป็นอาหาร แต่ก็มีบางพื้นที่หรือคนบางกลุ่มที่นิยมบริโภคเนื้อเต่าหรือเนื้อตะพาบ โดยเชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงกำลัง เช่น ตะพาบน้ำตุ๋นยาจีน เป็นต้น โดยความเชื่อทั่วไปแล้ว เต่า ถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน คนไทยจึงมีความเชื่อว่าหากได้ปล่อยเต่าจะเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เชื่อต่ออายุให้ยืนยาว ดังนั้น จึงมักเห็นเต่าหรือตะพาบตามแหล่งน้ำในวัดบางแห่งเสมอ ๆ ในประเทศจีน หลักฐานทางโบราณคดี พบว่า สมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซาง กระดองเต่า ถูกใช้เป็นเครื่องทำนายทางโหราศาสตร์ ในทางไสยศาสตร์ของไทย มีการใช้เต่าเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ยันต์เต่าเลือนเป็นต้น

เต่า ในทางภาษาศาสตร์ของไทย ยังใช้เป็นพยัญชนะลำดับที่ ๒๑ โดยมักใช้เป็นตัวสะกด คือ ต.เต่า โดยเป็นตัวอักษรเสียงกลาง นอกจากนี้แล้ว เต่า ยังเป็นตัวแทนของความเชื่องช้า โง่งม จึงมีสำนวนทางภาษาในนัยเช่นนี้ เช่น โง่เง่าเต่าตุ่น เป็นต้น

อาหารและการกินของเต่าทะเล

3 ม.ค.


เต่าทะเล เป็นสัตว์ที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร ส่วนเต่าตนุวัยอ่อนจะกินพวกสัตว์เล็กๆ และเมื่อโตขึ้น จะกิน พืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเต่ากระที่จับมากทำการเลี้ยงไว้นั้นสามารถกินสัตว์ได้ โดยธรรมชาติแล้วจะ ไม่พบสัตว์ใน กระเพาะ ของมันตากตัวอย่างที่ได้พบเต่าติดอวนและตายลง เนื่องจากคอหักเมื่อผ่าดูและตรวจ ดูที่บริเวณกระเพาะ ของมัน ปรากฏว่ามีแต่พืช เช่น สาหร่าย (Sargassum sp.) และ สาหร่ายสีเขียว (green algae) อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่พบสัตว์ในกระเพาะเต่าตนุ ซึ่งไม่เหมือนกับเต่ากระที่กินอาหารพวกสัตว์เล็กๆ เช่น แมงกะพรุน กุ้ง ปูปลา หอย และพืช รวมทั้งตะไคร่น้ำตามแนวหิน ในระหว่างเวลาในตอนกลางวันจะไม่พบเต่าทะเลในบริเวณน้ำตื้น จึงสันนิษฐานได้ว่าเต่าทะเลคงจะหา กิน ในเวลากลางคืนและช่วงเวลานั้นขึ้น แต่ในบางครั้งพบเต่าทะเลในบริเวณน้ำที่มีความลึกประมาณ 13-15 เมตรในช่วงเวลากลางวันและด้วยเต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ใช้ปอดในการหายใจจึงทำให้บ่อยครั้งที่พบเต่าทะเลขึ้น มาหายใจบนผิวน้ำ เมื่อเต่าทะเลขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำก็จะ

สามารถปรับหรือลดความดันของบรรยากาศภายในได้รวด เร็ว และไม่เป็นอันตรายอันเป็นคุณสมบัติพิเศษกว่าสัตว์น้ำชนิดยกเว้นสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนำบางชนิดเท่านั้นนอก จากนี้เต่าทะเลยังมีสัญชาติญาณอีกหลายประการที่น่าสนใจเช่นการรู้ทิศทางของทะเลในการขึ้นมาวางไข่ หรือแม้แต่ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งออกจากไข่และหลุมใหม่ๆจะมีความสามารถรู้ทิศทางในการลงสู่ทะเลได้ถูกต้องและความสามารถที่สำคัญอีกอย่างของเต่าทะเลก็คือการรู้เวลาว่าเมื่อใดเป็นเวลาน้ำขึ้นและน้ำลงซึ่งทำให้้เต่าทะเล สามารถ ระบุเวลาที่เหมาะสมได้เป็นต้น

สืบพันธุ์พันธุ์เต่า

3 ม.ค.

  การสืบทอดพันธุ์ของเต่าทะเล ในแต่ละปี จะมีเต่าทะเลที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ผสมพันธุ์ตามบริเวณต่าง ๆ ในมหาสมุทร หลังจากนั้นเต่าทะเลตัวเมียจะขึ้นหาดขุดทรายวางไข่  จะใช้พายคู่หลังขุดหลุม จนมีลักษณะคล้ายหม้อสองหู การขุดก็จะทำอย่างระมัดระวังโดยใช้พายข้างหนึ่งโกยทรายแล้วดีดออก เมื่อทรายที่ขุดมากขึ้นก็จะใช้พายอีกข้างช่วยโกยออก ต่อจากนั้นก็จะวางไข่    หลังจากวางไข่เสร็จ เรียบร้อยแล้วก็กลบหลุมและทุบทรายให้แน่น แล้วพรางหลุมโดยการกวาดทราบข้างเคียงจนสังเกตตำแหน่งได้ยาก

 

 ในแต่ละฤดูกาล เต่าตัวเมียจะวางไข่ทุกช่วงสัปดาห์จนกว่าจะหมดท้อง ซึ่งบางตัวอาจจะมีถึง 1,000 ฟอง โดยใช้เวลาในการขึ้นมา วางไข่บนหาด 3-8 ครั้ง แล้วจะกลับมาวางไข่อีกครั้งหลังจากเวลาผ่านไป 2-4 ปี ดังนั้น จำนวนรังในแต่ละปีจึงเปลี่ยนแปลงตลอด ด้วยสาเหตุที่ปริมาณการรอดตายของลูกเต่าทะเลน้อยมาก ดังนั้น ในการวางไข่แต่ละครั้งจึงมีจำนวนมาก ถ้าหาดที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ มีพื้นที่น้อย โอกาสที่ไข่เต่าทะเลจะถูกทำลายโดยน้ำท่วมหรือจากน้ำฝนจะมีมาก อุณหภูมิภายในหลุมก็มีผลกระทบต่อการฟังตัว 

ในสัปดาห์แรก ลูกเต่าทะเลไม่สามารถที่จะดำน้ำและใช้ชีวิตใต้ท้องทะเลได้เป็นเวลานาน และยังว่ายน้ำไม่แข็งพอที่จะหลบหลีกจากผู้ล่าได้ การหลบหลีกศัตรูในช่วงนี้จึงใช้วิธีหลบอาศัยและดำรงชีวิตตามสาหร่ายหรือพืชทะเลที่ล่องลอยในทะเลลึก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี ยังไม่มีผู้ใด รู้ว่าลูกเต่าทะเลใช้เวลาจนโตเต็มที่นานเท่าใด แต่ได้มีการประมาณว่าอยู่ในช่วง 8 ถึง 50 ปี เวลาอันยาวนานนี้ ทำให้มีปัญหาในการอนุรักษ์เป็น อย่างมาก จำนวนลดลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนนั้นเกิดจากมนุษย์และการติดอวนประมงเป็นส่วนใหญ่

ใครๆ ก็รู้ ^^

3 ม.ค.

              

เต่ (ภาษาอังกฤษ: Turtle) คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็นและเป็น สัตว์เลื้อยคลานด้วย ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า “กระดอง” ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน

โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางชนิดก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า “เต่าบก” (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ